ต้นพยางค์ (เสียงพยัญชนะต้น) ของ พินอิน

อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา และมีอักษรจู้อินกำกับ อักษรไทยที่กำกับไว้หมายถึงเสียงพยัญชนะไทยที่ใกล้เคียง มิใช่การทับศัพท์

ริมฝีปากริมฝีปากกับฟันปุ่มเหงือกปลายลิ้นม้วนปุ่มเหงือกกับ
เพดานแข็ง
เพดานแข็งเพดานอ่อน
เสียงกักb
[p] (ปㄅ)
p
[pʰ] (พㄆ)
d
[t] (ตㄉ)
t
[tʰ] (ทㄊ)
g
[k] (กㄍ)
k
[kʰ] (คㄎ)
เสียงนาสิกm
[m] (มㄇ)
n
[n] (นㄋ)
เสียงข้างลิ้นl
[l] (ลㄌ)
r¹
[ɻ~ʐ] (ร(ล) ม้วนลิ้น ㄖ)
เสียงกึ่งเสียดแทรกz
[ts] (ตซ คล้าย จ ㄗ)
c
[tsʰ] (ทซ คล้าย ช ㄘ)
zh
[ʈʂ] (ตซ(จ) ม้วนลิ้น ㄓ)
ch
[ʈʂʰ] (ทซ(ช) ม้วนลิ้น ㄔ)
j
[tɕ] (จㄐ)
q
[tɕʰ] (ชㄑ)
เสียงเสียดแทรก f
[f] (ฟㄈ)
s
[s] (ซㄙ)
sh
[ʂ] (ซ ม้วนลิ้น ㄕ)
x
[ɕ] (ทร คล้าย ซฺ ㄒ)
h
[x] (คฺฮ คล้าย ฮ ㄏ)
เสียงกึ่งสระ    y²
[j]/[ɥ]³ (ยㄧ/ㄩ)
w²
[w] (วㄨ)
¹ /ɻ/ อาจออกเสียงคล้ายกับ /ʐ/ (เสียงเสียดแทรก ปลายลิ้นม้วน ก้อง) ซึ่งเปลี่ยนแปรไปตามผู้พูด แต่ก็ถือว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน² อักษร y และ w นั้นไม่ได้บรรจุอยู่ในตารางเสียงพยัญชนะของระบบพินอินอย่างเป็นทางการ แต่ใช้สำหรับแทนที่อักษรสระ i, u, ü เมื่อไม่มีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็น yi, wu, yu ตามลำดับ³ อักษร y จะออกเสียงเป็น [ɥ] เมื่อตามด้วย u (ซึ่งลดรูปมาจาก ü)

การเรียงลำดับเสียงพินอิน (ไม่รวม w และ y) ได้รับการสืบทอดมาจากระบบจู้อิน (注音; Zhùyīn) นั่นคือ

b p m fd t n lg k hj q xzh ch sh rz c s

หรือ ที่เราท่องกันว่า... โป โพ โม โฟ เตอ เทอ เนอ เลอ เกอ เคอ เฮอ จี ชี ทรี จืยฺ ชืยฺ ซืยฺ รืยฺ ตซือ(จือ) ทซือ(ชือ) ซือ

อย่างไรก็ตามในพจนานุกรมสมัยใหม่ ได้เรียงพินอินแบบ a-z เหมือนอักษรโรมันเพื่อให้การค้นหาสะดวกยิ่งขึ้น